วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของข่า




ข่า สรรพคุณและประโยชน์ของข่า 53 ข้อ !


ข่า

ข่า

ข่า ภาษาอังกฤษ GalangaGreater GalangalFalse Galangal ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับกระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และว่านรากราคะ


นอกจากนี้ข่ายังชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) เป็นต้น
ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูล ขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเรารวมทั้งอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่างๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่างๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่างๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้นับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย

ประโยชน์ของข่า

  1. ประโยชน์ของข่าช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
  2. ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
  3. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
  4. ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนียวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
  5. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
  6. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
  7. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่,สารสกัดจากเหง้า)
  8. ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
  10. ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก (หน่อ)
  11. ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง (เหง้าแก่)
  12. ข่าสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ (เหง้า,ราก)
  13. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
  14. ผงจากผลแห้งสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดฟันได้ ด้วยการนำผลไปบดแล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ผลข่า)
  15. ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
  16. ดอกข่ารับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ดอก)
  17. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
  18. ข่า สรรพคุณช่วยแก้บิด ปวดมวนท้อง ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
  19. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ผลข่า)
  20. ข่าช่วยอาการแก้อาหารเป็นพิษ (เหง้า)
  21. เหง้าข่าแก่ช่วยย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (เหง้าแก่,ผลข่า)
  22. มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ (เหง้า)
  23. ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร (เหง้า)
  24. ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
  25. ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
  26. ช่วยขับน้ำดี (เหง้า)
  27. ช่วยแก้ดีพิการ (ข่าหลวง)
  28. ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือให้หญิงรับประทานหลังคลอด (เหง้า)
  29. ใช้เป็นยารักษาแผลสด (สารสกัดจากเหง้า)
  30. ช่วยลดอาการอักเสบ (เหง้า)
  31. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแพ้ต่าง (สารสกัดจากเหง้า)
  32. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (สารสกัดจากเหง้า)
  33. สรรพคุณ ข่าใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ (เหง้า)
  34. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา (สารสกัดจากเหง้า)
  35. ช่วยฆ่าพยาธิ (น้ำมันหอมระเหย,ใบ)
  36. สรรพคุณของข่า ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เหง้าแก่เท่าหัวแม่มือ นำมาตำจนละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนบ่อยๆ จนกว่าจะหาย (เหง้า,ใบ)
  37. ช่วยแก้ฝีดาษ (ดอกของข่าลิง)
  38. ใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง นำมาตำจนละเอียด แล้วเติมเหล้าโรงพอแฉะ และใช้ทั้งน้ำและเนื้อนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้า)
  39. ช่วยแก้โรคน้ำกัด ด้วยการใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเติมเหล้าโรงพอท่วมทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้สำลีชุบแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ (เหง้า)
  40. ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้เหง้าแก่ตำละเอียด นำมาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดแล้วนำไปแช่กับเหล้าขาวหรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วันกรองเอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (เหง้า)
  41. ช่วยแก้ตะคริว (เหง้า)
  42. ช่วยแก้เหน็บชา (เหง้า)
  43. สรรพคุณของข่าช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการปวดบวมตามข้อ ด้วยการใช้ต้นข่าแก่นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วทาแก้อาการ (ต้นแก่,ใบ,สารสกัดจากเหง้า)
  44. ดอกและลำต้นอ่อนสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ลำต้น,ดอก)
  45. เหง้าของข่าลิง เอามาต้มน้ำแล้วนำน้ำมาผสมกับสุรา จะช่วยเพิ่มดีกรีของสุรา ทำให้ดีกรีไม่ตก สุรามีกลิ่นฉุนแรงมากขึ้น (เหง้าของข่าลิง)
  46. ช่วยแก้กามโรค (เหง้าของข่าลิง)
  47. ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ
  48. สารสกัดจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ช่วยฆ่าแมงลงวันได้ (สารสกัดจากเหง้า)
  49. ประโยชน์ข่าช่วยไล่แมลง ด้วยการใช้เหง้านำมาตำให้ละเอียดเพื่อเอาน้ำมันหอมระเหย แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง (เหง้า)
  50. ข่ามีเหง้าที่มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอม สามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ กุ้งหอยปูปลาได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
  51. ในบางประเทศใช้ข่าเพื่อช่วยระงับกลิ่นปากปากและใช้ดับกลิ่นกาย
  52. ข่า ประโยชน์นำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา แกงมัสมั่น แกงเทโพ แกงไตปลา ผัดเผ็ด ลาบ ฯลฯ
  53. ประโยชน์ของข่า มีการนำข่าไปผลิตหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือชา ทำลูกประคบ สเปรย์ดับกลิ่น ฯลฯ

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : http://frynn.com/