วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สีของอุจจาระ บอกสุขภาพ

สีของอุจจาระ

สีของอุจจาระขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณทานเข้าไปและปริมาณของน้ำดี (bile) ในอุจจาระ น้ำดีคือของเหลวสีเขียวๆจากถุงน้ำดีที่มีหน้าที่ช่วยย่อยไขมัน ซึ่งจะถูกเอนไซม์ต่างๆทำปฏิกิริยาด้วย เลยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลระหว่างที่ไหลลงมาตามระบบทางเดินอาหาร

ดังนั้น อุจจาระที่ปกติมักจะมีสีอยู่ระหว่างเขียว-เหลือง-น้ำตาล

  • หากอุจจาระเป็น สีเขียวเข้ม อาจจะหมายความว่า อาหารได้ไหลผ่านระบบทางเดินอาหารเร็วเกินไป (เช่นเวลาท้องร่วง) จนน้ำดียังไม่ได้มีปฏิกิริยากับ เอนไซม์และ ยังไม่ได้เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นน้ำตาล หรือ คุณได้ทานผักสีเขียวในปริมาณมาก หรือทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก

  • หากอุจจาระเป็น สีขาว หรือ สีอ่อนมากๆ อาจจะหมายความว่า - อุจจาระไม่มีน้ำดี ซึ่งอาจจะหมายความว่ารูทางออกของถุงน้ำดีมีอะไรไปอุดไว้ - คุณอาจจะทานยาบางตัวที่มี bismuth subslicylate มากเกินไปซึ่งยากลุ่มนี้จะพบได้มากในยาแก้ท้องร่วง

  • หากอุจจาระเป็น สีเหลือง มีน้ำมันและ มีกลิ่นเหม็นมาก อาจจะหมายความว่า อุจจาระมีไขมันมากเกินไป ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับปัญหาในระบบดูดซึมสารอาหารและควรจะพบแพทย์

  • หากอุจจาระเป็น สีดำ อาจจะหมายความว่า มีเลือดไหลในอวัยวะทางเดินอาหารช่วงบน เช่น กระเพาะ หรือ คุณทานอาหารเสริมธาติเหล็ก หรือ ทาน black licorice เข้าไป

  • หากอุจจาระเป็น สีแดงสด อาจจะหมายความว่า มีเลือดไหลในอวัยวะทางเดินอาหารช่วงล่าง เช่นลำไส้ใหญ่ เป็นโรคริดสีดวงทวาร หรือ คุณได้ทานอาหารที่มีสีแดงเช่น แครนเบอรี่ บีทส์ น้ำมะเขือเทศ หรือเยลลี่สีแดง

นอกจากนี้
- ถ้าอุจจาระเป็น สีน้ำตาลดำ ลักษณะหนืดเหนียว จมน้ำ แสดงว่าคุณทานเนื้อสัตว์มาก
- ถ้าคุณกินผักมาก อุจจาระจะเป็น สีเขียวขี้ม้า
- ถ้าคุณกินมะละกอ อุจจาระก็จะออก สีแดงๆ
- ถ้าคุณกินธัญพืชและข้าวซ้อมมือมาก อุจจาระจะออก สีน้ำตาลอ่อนและลอยน้ำได้
- ถ้าถ่ายแล้วแสบก้น แสดงว่าคุณกินพริกมากเกินไป
- ถ้ามีคราบไขมันลอย ให้สำรวจตัวเองว่าคุณกินอาหารมันเกินไปหรือเปล่า
- ถ้า อุจจาระยังมีชิ้นส่วนที่บ่งบอกได้ว่ากินอะไรเข้าไป เช่น เศษมะเขือเทศ ข้าวฟ่างลอยเป็นเมล็ด ข้าวโพดที่ยังดูเป็นข้าวโพด แสดงว่าคุณน่าจะเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้น















รสชาติฉี่ของคน

ไม่ว่าใครจะเกิดมากินเพื่ออยู่หรือ อยู่เพื่อกิน”  แต่ทุกคนต้องขับถ่ายออกมา มีทั้งการปัสสาวะและอุจจาระ
              สำหรับการปัสสาวะและอุจจาระของคน ที่เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ สิ่งที่หลายๆคนรังเกียจทั้งๆที่เป็นคนขับถ่ายออกมาเองนั้น มันสามารถบอกสุขลักษณะและสะท้อนปัญหาการกินของคนๆนั้นได้โดยทาง ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติจ.นครนายก ได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ ผ่านเอกสาร ปัสสาวะและอุจจาระวิทยาดังนี้
              โดยปัสสาวะวิทยา ระบุว่า รสชาติฉี่ของคน สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้การเป็นโรคของอวัยวะในได้ โดย
  • ฉี่รสชาติเค็ม บ่งชี้ถึงการเป็นโรคไต
  • รสขมบ่งชี้ถึงการเป็นโรคหัวใจ
  • รสเปรี้ยวบ่งชี้การเป็นโรคตับ
  • รสหวาน บ่งชี้การเป็นโรคที่ตับอ่อน
  • รสฝาดหรือเฝื่อนบ่งชี้ว่ากล้ามเนื้อบกพร่อง
  • และรสกลมกล่อมซึ่งไม่ได้หมายถึงรสอร่อย หากแต่หมายถึงการผสมทุกรสกัน ทั้ง เค็ม หวาน ขม เปรี้ยว ฝาดเฝื่อน นั่นหมายถึง การบกพร่องของอวัยวะทุกส่วน
      
       ส่วนปัสสาวะที่ดี จะมีรสเหมือนน้ำเปล่า หรือรสเหมือนน้ำชา
      
       ขณะที่เรื่องของอุจจาระวิทยานั้น สามารถสะท้อนปัญหาในเรื่องการกินออกมาได้อย่างน่าคิด โดยอุจจาระของคนเรานั้น มี 7 แบบ ได้แก่
      
       1. เป็นขี้แพะก้อนเล็กและแข็งมาก
       2. เป็นก้อนแข็งเหมือนกระสุนขนาดใหญ่
       3. เป็นแท่งเหมือนไส้กรอก ผิวมีรอยแตก
       4. เป็นแท่งยาว นิ่ม ผิวเรียบ ส่วนปลายแหลมเหมือนหางงู
       5. นิ่มมากแต่คงรูปได้
       6. เหลว ไม่คงรูปร่าง
       7. เป็นน้ำ
      
       ทั้งนี้ศูนย์ภูมิรักษ์ได้ระบุว่าอุจจาระแบบที่ 4 แสดงถึงสุขภาพที่ดีที่สุดของคนเรา
      
       ด้านสีของอุจจาระก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการกินได้ โดยศูนย์ภูมิรักษ์แบ่งสีของอึหรืออุจจาระเป็น 4 ลำดับ คือ
      
       1.ดำ แสดงผลว่าอาจมีเลือดออกในกระเพราะหรือลำไส้
       2. น้ำตาล แสดงผลว่ากินเนื้อมากกว่าผักผลไม้
       3 น้ำตาลอมเหลือง แสดงผลว่ากินเนื้อสมดุลกับผัก ผลไม้
       4 เขียว แสดงผลว่ากินผักสดและผลไม้มากกว่าเนื้อสัตว์
      
       ทั้งนี้ลำดับอุจจาระที่ถือว่าร่างกายไม่สะสมพิษ คือ ลำดับที่ 3 และ 4
      
       ส่วนความรู้สึกในการขับถ่ายที่ดี ทางอุจจาระวิทยาได้ให้ข้อมูลว่ามีดังนี้
      
       1. เกิดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระเป็นเวลา
       2. ไม่ต้องเบ่งจนหน้าดำหน้าแดง
       3. อุจจาระจะขับออก แบบลื่นไหลไม่สะดุด
       4. หลังถ่ายอุจจาระแล้วรู้สึกสบาย
              และนั่นคือปัสสาวะและอุจจาระวิทยาที่สะท้อนถึงเรื่องสุขภาพและปัญหาการกิน ซึ่งผู้สนใจสามารถพิสูจน์โรคจากฉี่คงต้องกลั้นใจหรือทำใจลำบากหน่อย เพราะเรื่องรสชาติของฉี่ถือเป็นเรื่องที่ยากต่อการพิสูจน์ของคนจำนวนมาก ส่วนใครที่อยากรู้สุขภาพจากอึก็สามารถพิสูจน์สีดูกันได้

เลือด...ของเหลงมหัศจรรย์แห่งชีวิต

เรายังอยู่กันที่รายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ เพื่อบ่งชี้สภาวะการทำงานของตับ (Liver function test ) วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ 2 รายการสุดท้าย คือ Total billirubin และ Direct billrubin ซึ่งมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับภาวะที่เรียกว่า ตัวเหลือง ตาเหลืองกันอย่างไร

            คำว่า บิลิรูบิน (Billirubin)” เป็นสารสีเหลืองในน้ำดี บิลิรูบินเกิดขึ้นจากการสลายตัวขององค์ประกอบบางอย่างในเม็ดเลือดแดง โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุขัยประมาณ  120 วัน เมื่อหมดอายุจะถูกทำลายโดยม้าม ทำให้เกิดการสลายส่วนประกอบที่สำคัญที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดง โดยส่วนของโปรตีนจะถูกสลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ในร่างกาย และเหลืออีกส่วนที่เรียกว่า ฮีม (Heme) ซึ่งจะละลายน้ำไม่ได้ จึงต้องจับกับโปรตีนอัลบูมิน (ที่กล่าวถึงไว้ในฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2554) เพื่อขนส่งไปในกระแสเลือดไปยังตับ

            ในช่วงก่อนที่จะไปถึงตับ จะเรียกบิลิรูบินชนิดนี้ว่า Indirect billirubin และเมื่อไปถึงตับ จะมีกระบวนการในการจับกรดกลูคูโรนิก (Glucuronic acid) ทำให้มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดีและมีสีเหลือง ในขั้นตอนนี้ จึงเรียกใหม่ว่าDirect billirubin หรือบางห้องปฏิบัติการอาจใช้คำว่า Conjugated billirubin แทนก็ได้ หลังจากนั้น จะมีการขับออกทางน้ำดี เข้าสู่ลำไส้เล็กและขับออกทางลำไส้ใหญ่ปนกับกากอาหารต่อไป ดังนั้น หากมีความปกติเกิดขึ้นที่ตับหรือท่อทางเดินน้ำดี ทำให้มีการเอ่อท้นเข้าสู่กระแสเลือดและจะถูกขับออกทางไตในรูปของปัสสาวะ ซึ่งหากมีการเจาะเลือดตรวจรายการDirect billirubin ก็จะพบว่ามีค่าสูงขึ้นได้ อีกทั้งหากเกิดกรณีที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดงเป็นจำนวนมากจากโรคหรือพยาธิสภาพบางอย่าง ก็ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการคั่งของบิลิรูบิน ทั้งในส่วนที่เป็น Indirect billirubin และ Direct billirubin ทำให้เกิดผลรวมที่เรียกว่า Total billirubin ปริมาณมากในกระแสเลือดและไปสะสมที่บริเวณผิวหนังและตาขาว ทำให้ลักษณะอาการที่เรียกว่า ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง หรือเรียกว่า ดีซ่าน (Jaundice)” นั่นเอง

            ท่านผู้อ่านคงจะสังเกตเห็นว่า ในใบส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจะมีเพียง 2 รายการ คือ Total billirubin และDirect billirubin ซึ่งจะไม่มีการตรวจค่า Indirect billirubin ที่เป็นค่าจริง แต่หากต้องการทราบค่านี้ จะอาศัยการคำนวณโดยนำค่า Total billirubin มาหักลบด้วยค่า Direct billirubin แทน สำหรับค่าปกติของ Total billirubin  จะเท่ากับ 0.5-1.2 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (ในใบรายงานผลจะเรียกว่า มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร; mg/dl) ในขณะที่ค่าของ Total billirubin จะอยู่ระหว่าง 0.1-0.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ค่า Total billirubin ที่สูงกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของตับ เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมีการติดเชื้อ ความผิดปกติในการทำงานของไต สภาวะที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ รวมไปถึงในกรณีที่มีตัวเหลืองตาเหลืองในเด็กทารกแรกเกิด เนื่องจากตับยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ช่วยในการเปลี่ยน Indirect billirubin ให้เป็น Direct billirubin ได้ดีพอจึงจะเห็นว่าต้องมีการนำทารกไปเข้าตู้เพื่อส่องไฟ เพื่อให้แสงช่วยในการทำปฏิกิริยาให้บิลิรูบินเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ละลายน้ำได้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถขับออกนอกร่างกายต่อไป

สำหรับการที่ค่า Direct billirubin สูงกว่าปกตินั้นอาจเป็นไปได้จากการมีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี หรือการเกิดมะเร็งที่ตับ ที่มีผลทำให้ท่อทางเดินน้ำดีเกิดสภาวะอุดตัน ทำให้ไม่สามารถขับออกได้ จึงเอ่อท้นเข้าสู่กระแสเลือด

หวังว่าท่านผู้อ่านที่ติดตามเนื้อหาในคอลัมน์นี้มาโดยตลอด จะสามารถใช้ความรู้ต่างๆเหล่านี้ ในการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะในร่างกาย โดยสามารถใช้ผลการตรวจเลือดเป็นเสมือนลายแทงที่บ่งชี้สถานะทางสุขภาพของทุกท่าน อันจะนำไปสู่การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของพวกเราให้ดีไปได้โดยตลอดนะครับ

แหล่งข้อมูล:

Hospital & Healthcare.  ปีที่ 5 ฉบับที่ 43 เดือนเมษายน 2554: หน้า 4.